เฉลยแบบทดสอบบทที่ 3

1. 
2.  
3. 
4. 
5. 
6. 
7. 
8 . 
9 . 
10 . 
11. 
12. 
13. 
14. 
15. 
16. 
17. 
18. 
19. 
20. 

เฉลยแบบทดสอบบทที่ 2

1. ข

2. ค

3. ง

4. ข

5. ข

6. ก

7. ข

8. ข

9.  ค

10. ก

11. ก

12. ก

13. ง 

14. ค  

15. ง  

16. ง

17. ง

18. ค

19. ก

20. ก

เฉลยแบบทดสอบบทที่ 1

1. ข

2. ข

3. ง

4. ก

5. ค

6. ง

7. ก

8. ก

9. ค

10. ข

11. ค

12. ง

13. ข

14. ข

15. ข

16. ข

17. ง

18. ง

19. ข

20. ข

แบบทดสอบบทที่ 2

1. อะตอมประกอบไปด้วยโปรตอนและอิเล็กตรอนในจำนวนที่เท่า ๆ กัน คือ แบบจำลองอะตอมของใคร

ก. ดอลตัน
ข. ทอมสัน
ค. รัทเทอร์ฟอร์ด
ง. โบร์


2. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ธาตุต่างชนิดกันมีมวลต่างกันหรือมีนิวตรอนต่างกันเรียกว่าไอโซโทป
ข. มวลของอะตอม คือ มวลของโปรตอนกับอิเล็กตรอนในนิวเคลียส
ค. มวลของอะตอม คือ มวลของโปรตอนกับนิวตรอนในนิวเคลียส
ง. เลขอะตอมจะบอกถึงจำนวนโปรตอนและจำนวนนิวตรอนในอะตอม


3. อนุภาคข้อใดที่มีมวลใกล้เคียงกัน
ก.โปรตอน อิเล็กตรอน และนิวตรอน
ข.โปรตอนกับอิเล็กตรอน
ค. นิวครอนกับอิเล็กตรอน
ง. โปรตอนกับนิวตรอน


4. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
ก. โปรตอนและอิเล็กตรอนรวมกันเป็นนิวเคลียสของอะตอม
ข. นิวเคลียสมีขนาดเล็กมากและมีมวลมาก ภายในประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน
ค. นิวเคลียสเป็นกลางทางไฟฟ้าเพราะประจุของโปรตอนกับของอิเล็กตรอนเท่ากัน
ง.อะตอมของธาตุประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนกระจัดกระจายอยู่ภายในด้วยจำนวนเท่ากัน


5. เลขอะตอมของธาตุ คือข้อใด
ก. จำนวนอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุ
ข. จำนวนโปรตอนในอะตอมของธาตุ
ค. จำนวนนิวครอนในอะตอมของธาตุ
ง. จำนวนโปรตอนกับนิวตรอนในอะตอมของธาตุ

6. ธาตุ มีเลขอะตอม 15 มีนิวตรอน 16 จะมีเลขมวล โปรตอน และอิเล็กตรอนเท่าไรตามลำดับ
ก. 31, 15, 15
ข. 31, 16, 15
ค. 16, 15, 15
ง. 15, 31, 16


7. ข้อใดอธิบายความหมายไอโซโทปของธาตุได้ถูกต้อง
ก. ธาตุชนิดเดียวกัน เลขมวลเหมือนกันแต่เลขอะตอมต่างกัน
ข. ธาตุชนิดเดียวกันมีประจุในนิวเคลียสเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน
ค. ธาตุต่างชนิดกันมีเลขอะตอมเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน
ง. ธาตุต่างชนิดกันมีประจุในนิวเคลียสเหมือนกันแต่เลขมวลต่างกัน



8. ธาตุโซเดียม (Na) มีเลขอะตอมเท่ากับ 11 จะมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนดังข้อใด
ก. 2, 9
ข. 2, 8, 1
ค. 2, 6, 5
ง. 1, 8, 2


9. ข้อใดบอกความหมายของเลขมวลได้ถูกต้อง
ก. จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอม
ข. มวลรวมของนิวตรอนโปรตอน และอิเล็กตรอนในอะตอม
ค. มวลรวมของนิวตรอนและโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอม
ง. มวลรวมของโปรตอน และอิเล็กตรอนในนิวเคลียสของอะตอม



10. ธาตุคลอรีน (CI) มีเลขอะตอม 17 จะอยู่ในคาบและหมู่ละที่เท่าไรของตารางธาตุ
ก. คาบ หมู่ 7
ข. คาบ หมู่ 3
ค. คาบ หมู่ 7
ง. คาบ หมู่ 8



11. ไอออนของธาตุ X มีจำนวนโปรตอนนิวตรอนและอิเล็กตรอนเท่ากับ 9 10 10 ตามลำดับธาตุ X มีสัญลักษณ์เป็นไปตามข้อใด
ก.ธาตุ X มีเลขมวลเท่ากับ 19 และมีเลขอะตอมเท่ากับ 9
ข. X มีเลขมวลท่ากับ 21 และมีเลขอะตอมเท่ากับ 9
ค.ธาตุ X มีเลขมวลเท่ากับ 21 และมีเลขอะตอมเท่ากับ 11
ง.ธาตุ X มีเลขมวลเท่ากับ 21 และมีเลขอะตอมเท่ากับ

12. สารบริสุทธิ์ของธาตุ X ในข้อที่ 69 มีสูตรโมเลกุลตามข้อใด
ก. F2 ข.Cl2 ค.N2 ง.O2

13. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของธาตุ X ในข้อที่ 69
ก. สาร X มีสถานะเป็นแก๊ส
ข. ไอออนที่เสถียรของธาตุ X มีประจุเป็น -1
ค. ธาตุ X พบได้ในบางส่วนของร่างกายคน
ง.ธาตุ X กับธาตุ Ca เกิดเป็นสารประกอบที่มีสูตร CaX

14. การจัดเรียงอิเล็กตรอนของไอออน X2+ ที่มี 44 โปรตอนเป็นตามข้อใด
ก. [Ar] 3d10 4s2 4p5 4d5
ข. [Ar] 3d10 4s2 4p6 4d2
ค. [Ar] 3d10 4s2 4p6 4d6
ง. [Ar] 3d10 4s2 4p6 4d8            
                                                                                                                                                                               
15.ข้อใดกลา่วไดถกต้อง
ก.แบบจำลองอะตอมคืิมโนภาพที่สรา้งขึ้น โดยอาศัยข้อมลูจากการทดลองซึ่ง อาจถูก หรือ ผิดก็ได้ 
ข. นักวทิยาศาสตร์ที่เสนอแนวคดิว่าอะตอมไม่เล็กที่สุดแต่ยังมีอิเล็กตรอนที่เล็กกว่าคือ ดอลตัน
ค. เมื่อดูตอมด้วยกลอ้งจลุทรรศน์สนามไอออนกำลังขยาย 750,000 เท่า จะมองเห็นอะตอมได้ช้ัดเจน 
ก. กและข  ข. กและค  ค. กขและ ง  ง. ก เท่านั้น 

16. เราทราบค่ามวลของอิเล็กตรอนได้จากการทดลองของใคร 
ก. Thomson   ข. Millikan    ค. Rutherford     ง. Thomson และ Millikan  

17.ความแตกต่างระหว่างงแบบจำลองอะตอมของทอมสันและรัทเทอรฟ์อรด์คือข้อใด
 ก. ชนิดของอนุภาคที่อยู่ในอะตอม
 ข. ตำแหน่งของอนุภาคที่อยู่ในอะตอม
 ค. จำนวนอนุภาคที่อยู่ในอะตอม
 ง. ขนาดของอนุภาคที่่อยู่ในอะตอม

18.ผลการทดลองของรัทเทอรฟ์อรด์ในข้อใดที่ไม่ส้อดคล้องกับเเบบจำลองอะตอมของทอมสัน
 ก. อนุภาคแอลฟาผ่านทะลุเเผ่นทองคำมีลักษณะเป็นเส้นตรง
 ข. อนุภาคแอลฟาผ่านทะลุเเผ่นทองคำไปได้ทีการเบี่ยงเบน
ค. อนุภาคแอลฟาวิ่งชนเเผ่นทองคำเเล้วสะส้อนกลับ
ง. อนุภาคแอลฟาบางอนุภาคถูกดูดกลืน

19.ค่า e/m ของไอออนบวกชนิดใดมีค่ามากที่สุด
 ก. Li (A = 7)             ข. Na (A = 24)         ค. K (A = 39)        ง. Ca (A = 40)

กำหนดให้ธาตุ A, B, C และ D มีเลขอะตอมเท่ากับ 55, 38, 35 และ10 ตามลำดับ

20.ธาตุใดมีพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 ต่ำที่สุด
ก. A         ข. B         ค. C         ง. D


แบบทดสอบบทที่ 3

1. จำนวนพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล CH4 , SiCl4 , NaCl , NH3 เป็นกี่พันธะมีค่าเรียงตามลำดับ  คือข้อใด

   ก. 4 , 4 , 0 , 3     ข. 6 , 3 , 1 , 0       ค. 4 , 3 , 0 , 3      ง. 5 , 4 , 1 , 0

2.
 พันธะเดี่ยว หมายถึงอะไร
    
ก. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่
    
ข. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่
    
ค. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่
    
ง. พันธะที่เกิดจากการใช้์อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวร่วมกัน 1 คู่

3.
 ธาตุในข้อใด เกิดพันธะโคเวเลนต์กับธาตุคลอรีนได้ดีที่สุด

    
ก. Na                ข. Ra             ค. C                 ง. Cs

4.
 สมบัติทางกายภาพในข้อใด ที่ใช้อธิบายสมบัติทางเคมีของอโลหะ
    
ก. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมใหญ่ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
    
ข. พลังงานไอออไนเซชันต่ำ ขนาดอะตอมใหญ่ อิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ
    
ค. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
    
ง. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก อิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง

5. 
ธาตุ Z มีพลังงานไอออไนเซชันตั้งแต่ลำดับที่หนึ่งถึงลำดับที่ 8 เป็นดังนี้ 1.320, 3.395, 5.307, 7.476, 10.996, 13.333, 71.343, 84.086 ธาตุ Z มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่าใด

    
ก. 1                ข. 4                ค. 6                ง. 7

6. 
ตารางแสดงค่าพลังงานพันธะเฉลี่ยในสารไฮโดรคาร์บอน
    
ชนิดพันธะ
พลังงานพันธะ
C - H
413
C - C
348
การสลายพันธะโพรเพน (C3H8)  0.5 โมล จะต้องใช้พลังงานมากกว่าหรือน้อยกว่าการสลายพันธะอีเทน (C2H6)  0.5 โมล  เท่าไร
     
ก. มากกว่า 587 kJ     ข. น้อยกว่า 283 kJ      ค. มากกว่า 526 kJ     ง. น้อยกว่า 278 kJ

7. 
เหตุใดสารโคเวเลนต์ จึงมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ
    
ก. สารโคเวเลนต์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย       ข. สารโคเวเลนต์มักสลายตัวได้ง่าย
    
ค. สารโคเวเลนต์ไม่มีประจุไฟฟ้า                                   ง. สารโคเวเลนต์มักมีโมเลกุลขนาดเล็ก

8. 
สารละลายที่เกิดจากธาตุหมู่ 1 กับน้ำ มีสมบัติอย่างไร
    
ก. เป็นกลาง     ข. เป็นได้ทั้งกรดและเบส      ค. เป็นกรด       ง. เป็นเบส

9. 
สาร X เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว สาร Y เป็นโมเลกุลมีขั้ว ส่วนสาร Z เป็นพันธะไม่มีขั้ว ถ้าขนาดของโมเลกุลของ X>Y>Z แล้วสาร X Y และ Z ควรเป็นดังข้อใด

    
ก. CH2 , NH3 , C6H6      ข. BeCl2 , CH2Cl2 , S8      ค. Br2 , H2O , H2      ง. SiH4 , PCl3 , PCl5

10. 
กำหนดค่า EN ของธาตุดังนี้ A = 3.0 , B = 2.8 X= 2.7 , Y = 3.7 จงเรียงลำดับความแรงขั้วจากมากไปน้อย

      
ก. A-B , B-X , X-Y     ข. A-Y , B-X , A-X     ค. Y-B , A-Y , A-X     ง. A-X , B-Y , A-Y

11. 
ถ้า A , B และ C เป็นสารโคเวเลนต์ 3 ชนิด โดยทั้ง 3 ชนิดมีสถานะเป็นของเหลว โมเลกุลของสาร Aและ B มีขั้ว ส่วนโมเลกุลของสาร C ไม่มีขั้ว สารใดสามารถละลายน้ำได้

     
ก. สาร C       ข. สาร A และ C      ค. สาร A เเละ B       ง. สาร B และ C

12. 
จงระบุว่าสารในข้อใดละลายน้ำได้
      1) 
แคลเซียมคลอไรด์                 2) แอมโมเนียมซัลเฟต      3 )เมอร์คิวรี(I)คลอไรด์
      4) 
ไ อร์ออน(III)ไฮดรอกไซด์       5) โพแทสเซียมฟอสเฟต

    
ก. 1 2 3       ข. 1 2 5      ค. 2 3 4       ง. 2 3 5

13. 
ถ้า A, B ,C ,D เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 7,11,17 และ 20 ตามลำดับ สูตรของไอออนและสารประกอบไอออนิกในข้อใดถูกต้อง  

ข้อ
ไอออนบวก
ไอออนลบ
สูตรสารประกอบไอออนิก
D2+
A3-
D3A2
C3+
B2-
C2B3
B+
A-
BA
A+
C-
AC
14.เป็นสารประกอบของธาตุ Ca และ F มีจุดหลอมเหลวสูง ไม่นำไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้อง และละลายน้ำได้น้อยมาก ข้อสรุปใดต่อไปนี้ ไม่ สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น
      
ก. พันธะในสาร X เป็นพันธะไอออนิก           
      
ข. เมื่อ X ละลายน้ำ จะดูดความร้อน ทำให้ละลายได้น้อย
      
ค. X มีสูตร CaF2 ผลึกมีความแข็งแรงมากจึงละลายได้ยาก  
      
ง. สาร X เมื่อหลอมเหลวจะนำไฟฟ้า

15. 
เมื่อละลาย KCl ในน้ำเกิดปฏิกิริยาเป็นขั้น ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ดังนี้
1) KCl(s) -----> K+(g) + Cl-(aq)                H1 = 701.2 kJ/mol

2) K+(g) + Cl-(g) -------> K+(aq) + Cl-(aq)      H2 = 684.1 kJ/mol

ปฏิกิริยานี้เป็นแบบใด
    
ก. คายพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol           ข. คายพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol
    
ค. ดูดพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol               ง. ดูดพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol

16. 
สาร X , Y , Z มีพลังงานพันธะเป็น 120 , 200 , 90 kJ/mol ตามลำดับ จงเรียงความยาวพันธะจากน้อยไปมาก

      
ก. X , Y , Z            ข. Z , Y , X                ค. Y , X , Z              ง. Z , X , Y

17. 
ข้อใดกล่าว ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก  
      
ก.    นำไฟฟ้าได้ทุกสถานะ      ข.   เกิดจากการรวมตัวของไอออนบวกกับไอออนลบ  
      
ค.   จัดเรียงตัวเป็นผลึก           ง.   มีผลรวมของประจุสุทธิ เป็น ศูนย์


18. 
พันธะเคมี หมายถึง อะไร   
      
ก. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม          ข. พลังงานที่ทำให้อะตอมสลายตัว    
      
ค. การอยู่รวมกันของอะตอม              ง. การอยู่รวมกันของโมเลกุล

19. 
กำหนดการจัดอิเล็กตรอนของธาตุให้ ดังนี้  A   2,8,2     B   2,8,8,1     C  2,8,7      D  2,8,18, 8   ธาตุคู่ใดมีการเกิดเป็นสารประกอบไอออนิกได้    
                                 
      
ก.   A  กับ  D          ข.   C  กับ  D         ค.   B  กับ  C           ง.   B  กับ  D

20. เพราะเหตุใด อโลหะจึงยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
      
ก. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนยาก          ข. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนง่าย
      
ค. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนยาก          ง. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนง่าย

แบบทดสอบบทที่ 1

1. MSDS หรือ SDS คืออะไร 

 ก. ฉลากของสารเคมีแต่ละชนิด

 ข. เอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีแต่ละชนิดเกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย วิธีใช้การเก็บรักษาการขนส่งการกาจัด

 ค. ข้อกำหนดในการทางานกับสารเคมี 

 ง. แนวทางในการปฏิบัติงานกับสารเคมี

2. ท่านสามารถหา MSDS ได้จากที่ใด

 ก. ร้านขายหนังสือทั่วไป

 ข. สืบค้นจากฐานข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต 

 ค. ฉลากข้างขวด 

 ง. ถูกทุกข้อ

3. จากภาพ สารเคมีชนิดนี้เป็นสารเคมีอันตรายประเภทไหน



 ก. สารก่อมะเร็ง สารไวไฟ สารกัดกร่อน 

ข. สารไวไฟ สารท าลายสิ่งแวดล้อม สารระคายเคือง 

ค. สารระคายเคือง สารกัดกร่อน สารไวไฟ

 ง. สารกัดกร่อน สารท าลายสิ่งแวดล้อม สารระคายเคือง 

4. ข้อใดคือสัญลักษณ์ของสารกัดกร่อน 

         ก                                                      ข                                 
   ค                        ง   

5. ทุกใดไม่ใช่กฎทั่วไปในการปฏิบัติงานกับสารเคมีอย่างปลอดภัย 

ก. รู้จักสารเคมีที่ใช้ 

ข. รู้วิธีการปฏิบัติงาน 

ค. รู้แหล่งผลิตสารเคมี 

ง. มีการจัดการสารเคมีอย่างถูกต้อง 

6. ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย 

ก. ใส่คอนแทคเลนส์เมื่อท างานกับสารเคมี

 ข. สวมรองเท้าเมื่อท างานกับสารเคมี

 ค. ถ้าไม่มั่นใจว่าเป็นสารเคมีอันตรายอย่างไร ให้ทดลองทาน้อยๆ ดูก่อน 

ง. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมตลอดเวลา

 7. ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย 

ก. สารเคมีที่มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน รุนแรง เช่น กรด ฟอร์มาลีน ควรทาภายในตู้ดูดไอสารเคมี

 ข. สารเคมีที่มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน รุนแรง เช่น กรด ฟอร์มาลีน ควรทาในที่โล่ง ระบายอากาศดี

 ค. สารเคมีทุกชนิด ควรท าภายในตู้ดูดไอสารเคมี 

ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง

 8. ข้อใดแนวทางการจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย

 ก. เก็บรักษาตามค าแนะน าใน MSDS 

ข. สถานที่เก็บควรปิดสนิทมิดชิด ไม่ควรให้มีอากาศถายเทสู่ภายนอก

 ค. เพื่อประหยัดพื้นที่ควรวางขวดสารเคมีซ้อนกัน โดยภาชนะขนาดใหญ่ไว้ชั้นลางสุด 

ง. ถูกทุกข้อ

 9. ข้อใดเป็นมาตรการควบคุม ป้องกันอันตรายจากสารเคมีอันตรายที่ดีที่สุด

 ก. ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ

 ข. สวมใส่ถุงมือตลอดเวลาที่ท างานกับสารเคมี 

ค. ยกเลิกการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย หรือเปลี่ยนไปใช้สารชนิดอื่นที่ปลอดภัยกว่า 

ง. จัดท าเอกสารความปลอดภัยสารเคมีให้พร้อมใช้ตลอดเวลา

10. เมื่อสารเคมีหกใส่ร่างกายหรือกระเด็นเข้าตา ต้องทาอะไรเป็นสิ่งแรก 

ก. รีบไปพบแพทย์ทันที 

ข. อาบน้ า หรือล้างตาด้วยน้ำ นานอย่างน้อย 15 นาที 

ค. รีบรายงานให้หัวหน้าห้องปฏิบัติการทราบ

 ง. แจ้งผู้ร่วมงาน 

11. ข้อใดต่อไปนี้ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งโดยตรง

 ก. สารไวไฟ ข. สารตัวท าละลาย ค. สารไวปฏิกิริยากับน้ำเช่น โลหะโซเดียม

 ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง 

12. เมื่อเกิดเหตุการณ์สารเคมีหกปนเปื้อนน้อย (minor chemical spill) ในหน่วยงานต้องทำอะไรเป็น

 สิ่งแรก

 ก. ท าความสะอาดบริเวณที่มีสารเคมีหก 

ข. หยุดการปฏิบัติงาน ปิดห้องแล้วรีบออกไป 

ค. แจ้งงานอาชีวอนามัยทันที

 ง. แจ้งให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นทราบทันที 

13. ของเสียสารเคมีชนิดใดที่สามารถทิ้งลงอ่างน้ าหรือท่อน้ำทิ้งได้โดยตรง 

ก. สารไวไฟสูง 

ข. สารละลายบัฟเฟอร์ 

ค. ตัวท าละลายที่ไม่ละลายน้ำ

ง. สารไวปฏิกิริยากับน้ำ

14. เมื่อกรด HCl เข้มข้นหกในห้องปฏิบัติการ ควรใช้ neutralizing agent ตัวไหนเหมาะสมที่สุด

 ก. ผงถ่านคาร์บอน 

ข. โซเดียมไบคาร์บอเนต 

ค. น้ำประปา

ง. ทราย

 15. วิธีใดเหมาะสมที่สุด สำหรับการต้มสารละลายเมทานอล 

ก. ต้มด้วยตะเกียงบุนเสน 

ข. ต้มในอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ 

ค. ต้มภายในบีกเกอร์ใส่น้ำตั้งบนตะเกียงบุนเสน 

ง. ต้มบน hot plate 

16. UN Class 3 มีลักษณะความเป็นอันตรายอย่างไร 

ก. แก๊สไวไฟ

ข. ของเหลวไวไฟ 

ค. ของแข็งไวไฟ 

ง. สารกัดกร่อน

17. เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS) ในปัจจุบันมีกี่ข้อ 

 ก. 10 ข้อ

 ข. 12 ข้อ 

 ค. 14 ข้อ

 ง. 16 ข้อ 

18. ข้อมูลใดไม่ควรพบในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS)

 ก. สภาพแวดล้อมหรืออุณหภูมิที่เหมาะสมในการจัดเก็บสารเคมี 

 ข. รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี 

 ค. ชื่อบริษัทผู้ขายสารเคมี 

 ง. ชื่อบริษัทขนส่งสารเคมี

19. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

 ก. ระบบ GHS สื่อสารข้อมูลสารเคมีผ่านทางฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS) 

 ข. การจัดท าเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS) เป็นหน้าที่ของผู้ใช้สารเคมี 

 ค. การจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS) เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตสารเคมี 

 ง. ผลิตภัณฑ์เคมีบางชนิดอาจแสดงชื่อสารเคมีหรือรหัสประจำตัวบนฉลากขวด แต่จะแสดงในเอกสาร ข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS)

20. ข้อปฏิบัติในการเก็บรักษาสารเคมี ข้อใดเหมาะสมที่สุด

 ก. กรณีที่สารมีอันตรายหลายประเภทให้จัดเก็บตามลำดับตัวอักษร 

 ข. ควรแยกเก็บสารเป็นอย่างน้อย 6 กลุ่มหลัก ได้แก่ สารไวไฟ สารกัดกร่อน สารออกซิไดซ์ สารไวต่อน้ า และอากาศ สารที่ลุกติดไฟได้เอง และสารที่ต้องการเก็บรักษาพิเศษ 

 ค. ภาชนะบรรจุสารเคมีต้องติดฉลากให้ชัดเจน เช่น ระบุสูตรทางเคมีเพื่อบ่งชี้แทนการใช้ชื่อสารเคมี

 ง. ถูกทุกข้อ 


3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ

 สารประกอบไอออนิก  สารโคเวเลนต์ และโลหะ    มีสมบัติบางประการที่ต่างกัน






การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ

    เนื่องจากสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ มีสมบัติเฉพาะตัวบางประการที่แตกต่างกัน เช่น ความสามารถในการนำไฟฟ้า จุดหลอมเหลว จุดเดือด ฯลฯ ดังที่กล่าวก่อนหน้า ดังนั้น เราจึงสามารถนำสารต่างชนิดเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในด้านที่แตกต่างกันตามความเหมาะสม เช่น  

    แอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) และซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) เป็นสารประกอบไอออนิกที่สามารถนำไฟฟ้าได้จากการแตกตัวเป็นไอออนเมื่อละลายน้ำ จึงสามารถนำไปใช้เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ในถ่านไฟฉายได้

    - พอลิไวนิลคลอไรด์ หรือ PVC (C2H3Cl)n เป็นสารโคเวเลนต์ที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ จึงนำไปใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มสายไฟฟ้า

    ซิลิคอนคาร์ไบด์ (SiC) เป็นสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีจุดหลอมเหลวสูงและมีความแข็งแรงมาก จึงนำไปใช้ทำเครื่องบด เครื่องโม่ และหินลับมีด   

    - ทองแดง (Cu) และอะลูมิเนียม (Al) เป็นโลหะที่นําไฟฟ้าได้ดีจึงนำไปใช้เป็นตัวนำไฟฟ้า โดยโลหะทองแดงสามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่าโลหะอะลูมิเนียมจึงใช้ในสายไฟฟ้าตามอาคารบ้านเรือน สำหรับโลหะอะลูมิเนียมซึ่งมีลักษณะเบา ถึงแม้จะนำไฟฟ้าได้ไม่ดีเท่าทองแดงแต่ก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการนำไปใช้ในกรณีที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายและน้ำหนักของวัสดุ

    อะลูมิเนียม (Al) และเหล็ก (Fe) เป็นโลหะที่นําความร้อนได้ดีจึงนำไปใช้ทำภาชนะสำหรับการประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ



3.4 พันธะโลหะ

3.4.1 การเกิดพันธะโลหะ 

    พันธะโลหะ (Metallic bonding) เป็นพันธะภายในโลหะซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเคลื่อนย้าย อิเล็กตรอน อิสระระหว่างแลตทิซของอะตอมโลหะดังนั้นพันธะโลหะจึงอาจเปรียบได้กับเกลือที่หลอมเหลวอะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนพิเศษเฉพาะในวงโคจรชั้นนอกของมันเทียบกับคาบ(period)หรือระดับพลังงานของพวกมัน อิเล็กตรอนที่เคลื่อนย้ายเหล่านี้เปรียบได้กับทะเลอิเล็กตรอน(Sea of Electrons) ล้อมรอบแลตทิชขนาดใหญ่ของไอออนบวกพันธะโลหะเทียบได้กับพันธะโควาเลนต์ที่เป็น นอน-โพลาร์ ที่จะไม่มีในธาตุโลหะบริสุทธ์ หรือมีน้อยมากในโลหะผสม ความแตกต่างอิเล็กโทรเนกาติวิตีระหว่างอะตอม ซึ่งมีส่วนในปฏิกิริยาพันธะ และอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาจะเคลื่อนย้ายข้ามระหว่างโครงสร้างผลึกของโลหะ พันธะโลหะเขียนสูตรทางเคมีไม่ได้ เพราะไม่ทราบจำนวนอะตอมที่แท้จริง อาจจะมีเป็นล้านๆ อะตอมก็ได้ 




                                                                                                                            แบบจำลองทะเลอะตอม

3.4.1 สมบัติของโลหะ

    1.เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดี เพราะมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปได้ง่ายทั่วทั้งก้อนของโลหะ   แต่โลหะนำไฟฟ้าได้น้อยลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น   เนื่องจากไอออนบวกมีการสั่นสะเทือนด้วยความถี่และช่วงกว้างที่สูงขึ้นทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไม่สะดวก

    2.โลหะนำความร้อนได้ดี  เพราะมีอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ได้   โดยอิเล็กตรอนซึ่งอยู่ตรงตำแหน่งที่มีอุณหภูมิสูง  จะมีพลังงานจลน์สูง และอิเล็กตรอนที่มีพลังงานจลน์สูงจะเคลื่อนที่ไปยังส่วนอื่นของโลหะจึงสามารถถ่ายเทความร้อนให้แก่ส่วนอื่น ๆ ของแท่งโลหะที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าได้

    3.โลหะตีแผ่เป็นแผ่นหรือดึงออกเป็นเส้นได้   เพราะไอออนบวกแต่ละไอออนอยู่ในสภาพเหมือนกันๆ กัน   และได้รับแรงดึงดูดจากประจุลบเท่ากันทั้งแท่งโลหะ ไอออนบวกจึงเลื่อนไถลผ่านกันได้โดยไม่หลุดจากกัน   เพราะมีกลุ่มของอิเล็กตรอนทำหน้าที่คอยยึดไอออนบวกเหล่านี้ไว้

    4.โลหะมีผิวเป็นมันวาว   เพราะกลุ่มของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ได้โดยอิสระจะรับและกระจายแสงออกมา   จึงทำให้โลหะสามารถสะท้อนแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้

    5.โลหะมีจุดหลอมเหลวสูง  เพราะพันธะในโลหะ   เป็นพันธะที่เกิดจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างวาเลนซ์อิเล็กตรอนอิสระทั้งหมดในด้อนโลหะกับไอออนบวกจึงเป็นพันธะที่แข็งแรงมาก


                                                                                                           การเลื่อนไถลของอะตอมโลหะเมื่อถูกแรงกระทำ




3.3 พันธะโคเวเลนต์

3.3.1 การเกิดพันธะโคเวเลนต์

พันธะโคเวเลนต์ เกิดจากการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน ซึ่งอาจจะใช้ร่วมกันเพียง 1 คู่ หรือมากกว่า 1 คู่ก็ได้

        -   อิเล็กตรอนคู่ที่อะตอมทั้งสองใช้ร่วมกันเรียกว่า “อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ”

        -   อะตอมที่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่าอะตอมคู่ร่วมพันธะ

* ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่าพันธะเดี่ยวเช่น ในโมเลกุลของไฮโดรเจน 

* ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่าพันธะคู่เช่น ในโมเลกุลของออกซิเจน  

* ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่าพันธะสามเช่น ในโมเลกุลของไนโตรเจน   

จากการศึกษาสารโคเวเลนต์จะพบว่า ธาตุที่จะสร้างพันธะโคเวเลนต์ส่วนมากเป็นธาตุอโลหะกับอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากโลหะมีพลังงานไอออไนเซชันค่อนข้างสูง จึงเสียอิเล็กตรอนได้ยาก เมื่ออโลหะรวมกันเป็นโมเลกุลจึงไม่มีอะตอมใดเสียอิเล็กตรอน มีแต่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ อย่างไรก็ตามโลหะบางชนิดก็สามารถเกิดพันธะโคเวเลนต์กับอโลหะได้ เช่น Be เกิดเป็นสารโคเวเลนต์คือ BeCl2เป็นต้น

 


3.3.2 สูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์

การเรียกชื่อสารโคดวดลนต์ มีหลักการดังนี้
  1. ถ้าประกอบด้วยธาตุชนิดเดียว เรียกชื่อตามธาตุนั้นโดยระบุสถานะด้วย ซึ่งส่วนใหญ่มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง 
  2. ถ้าประกอบด้วยธาตุ 2 ชนิด เรียกตามลำดับที่ปรากฏในสูตรโมเลกุลโดยเปลี่ยนพยางค์หลังเป็นเสียง ไ-ด์ (-ide) และระบุจำนวนอะตอมธาตุองค์ประกอบในโมเลกุลด้วยคำในภาษากรีกตามตาราง

3.3.3 ความยาวพันธะและพลังงานพันธะของสารโคเวเลนต์ 

ตารางแสดงความยาวพันธะบางพันธะ




กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดโมเลกุล




3.3.4 รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ 

มี 5 ลักษณะดังนี้ 


3.3.5 สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์

ถ้ามีการกระจายของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะระหว่างอตอมทั้งสองเท่ากัน เรียกว่า พันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว ส่วนสารโคดวดลนต์ที่เกิดจากอะตอมต่างชนิดกันและมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่างกันจะมีการกระจายตัวของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะระหว่างอะตอมไม่เท่ากัน  เรียกว่า พันธะโคเวเลนต์มีขั้ว 

δ+ แทนประจุไฟฟ้าค่อนข้างบวกในอะตอม δ- แทนประจุไฟฟ้าค่อนข้างลบในอะตอม


ขั้วของพันธะทำให้โมเลกุลอะตอมคู่ที่ประกอบด้วยธาตุชนิดเดียวกันเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว ส่วนถ้าประกอบด้วยธาตุต่างชนิดกันเป็นโมเลกุลมีขั้ว 

ตัวอย่างแสดงรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว

3.3.6 แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลและสมบัติของสารโคเวเลนต์

ที่อุณหภูมิห้อง สารโคเวเลนต์แต่ละชนิดอาจอยู่ในสถานะที่ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลหรือแรงแวนเดอร์วาลส์ 
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเกี่ยวข้องกับขนาดโมเลกุลและสภาพขั้วของโมเลกุล ซึ่งจะกล่าวถึง  3 ชนิด ได้แก่ 
  1. แรงแผ่กระจายลอนดอน เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลไม่มีขั้วหรืออะตอมแก๊สโมเลกุลเป็นแรงอ่อนๆ โดยแรงจะเพิ่มขึ้นตามขนาดของโมเลกุล 
  2. แรงระหว่างขั้ว เกิดจากสภาพขั้วโมเลกุลโดยโมเลกุลที่อยู่ใกล้กันจะหันส่วนของโมเลกุลที่มีขั้วตรงข้ามกันเข้าหากันเกิดเป็นแรงดึงดูดทางไฟฟ้าจากสภาพขั้ว โดยทั่วไปแรงนี้จะเพิ่มขึ้นตามสภาพขั้วของโมเลกุลที่มีขนาดใกล้เคียงกัน 
  3. พันธะไฮโดรเจน 

3.3.7 สารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย

สารที่มีพันธะโคเวเลนต์เชื่อมต่อกันเป็นโครงร่างตาข่ายเรียกว่า สารโคเวเลนต์โครงร่างข่าย ทำให้สารบางชนิดเป็นอัญรูป



ตัวอย่างโครงสร้างผลึก